logo2

  • หน้าแรก
  • หมวดหมู่
    • พุทธประวัติ
    • พระไตรปิฎก
    • ธรรมบท
    • ธรรมโฆษณ์
    • งานอนุรักษ์ต้นฉบับ และ จดหมายเหตุ พุทธทาสภิกขุ
    • ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า เชิงปริยัติ ปฏิบัติ และ ภาวนา
    • ธรรมประยุกต์ เพื่อชีวิตและสังคม
    • อัตถชีวประวัติ ครูบาอาจารย์
    • ศาสนา และ ลัทธิอื่น ๆ
    • หนังสือศาสนา ภาษาต่างประเทศ
  • สนทนา
  • ติดต่อ
  • ลงชื่อเข้าใช้
    Register for an account
    I forgot my username
    I forgot my password

    Sign in with your social identity

    Sign in with Facebook

ความสุขอยู่ที่นี่ มัวไปหากันที่ไหน

ธรรมประยุกต์ เพื่อชีวิตและสังคม
ความสุขอยู่ที่นี่ มัวไปหากันที่ไหน
ดาวน์โหลดไฟล์ E book
2 0
  • ชื่อหนังสือ
    ความสุขอยู่ที่นี่ มัวไปหากันที่ไหน
  • ชื่อผู้แต่ง
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
  • ความน่าสนใจ
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    (3 votes)
  •          ดำริเดิมนั้นมาจากความต้องการพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับธรรมที่ให้เยาวชนอ่านเข้าใจง่าย ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา หรืออีกนัยหนึ่งคือกิริยาวัตถุสาม ทาน ศีล ภาวนา โดยนำมาจากหนังสือของพระเดชพระคุณอาจารย์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) เริ่มต้นจาก “ก้าวไปในบุญ” และต่อด้วย “ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง” เชื่อมด้วย “สมาธิแบบแนวพุทธ” จบลงด้วย “ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น” น่าจะเป็นแนวทางที่จะให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจในศาสนาได้ ไม่มากไม่น้อย

  • ISBN
    9786167574134
  • สำนักพิมพ์
    หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
  • พิมพ์โดย
    กองทุนเกื้อโลก (ป. อ. ปยุตฺโต) และ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
  • ปีที่พิมพ์
    2556
  • รูปเล่ม
    ปกอ่อน, พิมพ์สีเดียว
  • น้ำหนัก
    360 กรัม
  • ขนาด
    14.5 x 19.5 ซม.
  • จำนวนหน้า
    312 หน้า
  • ประเภท
    หนังสือแนะนำ
  • สมทบการผลิต
    100 บาท
  • นักวิจารณ์รับเชิญ

    bia-mini มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

             ในบรรดางานธรรมคลาสิคที่พระเดชพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) น้อมนำพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเรียบเรียง ไม่ว่าจะเป็น “พุทธธรรม” ที่ประมวลพระธรรมมาไว้อย่างเพียบพร้อม ตลอดจน “ธรรมนูญชีวิต” ที่คัดสรรส่วนที่เป็นหลักเพื่อการดำเนินชีวิตที่ดี และ “กาลานุกรม” ที่ร้อยเรียงให้เห็นความเป็นมาเป็นไปแห่งพระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลกอย่างสมบูรณ์ยิ่ง โดยทีอีกมากเล่มนั้น หนังสือ “ความสุขอยู่ที่นี่ มัวไปหากันที่ไหน” ที่พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณอาจารย์กำหนดชื่อให้เล่มนี้ ถือเป็นเล่มที่ไม่ควรพลาดสำหรับผู้ใฝ่ศึกษาปฏิบัติทั้งหลาย

             โดยได้รับเมตตาจากพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณอาจารย์ในการกำหนดชื่อ จึงได้นำธรรมบรรยาย ๔ เรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน ว่าด้วย “บุญ” “การปฏิบัติธรรม” “สมาธิแบบพุทธ” และ “หัวใจแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา” มาพิมพ์ไว้ในเล่มเดียวกัน ในชื่อที่ชี้ชวนให้อ่าน เต็มไปด้วยเนื้อหาที่แจกแจงอย่างละเอียด เพื่อการปรับทัศนะจนมีความเห็นที่ตรง ถูกต้อง สามารถนำมาปฏิบัติ มาใช้ดำเนินชีวิต ก่อเกิดประโยชน์และความสุขที่แท้และตรงต่อพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา

             อาทิ คำว่า “บุญ” ที่ท่านให้ความหมายว่าแปลว่า “ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด และ ทำให้เกิดภาวะน่าบูชา...ควรที่จะทำกันให้มาก เพราะการทำบุญเป็นความสุขที่มีผลระยะยาว ไม่เหมือนอาหารที่รับประทานหรือสิ่งภายนอกที่บำรุงบำเรอกาย พอผ่านไปแล้วก็หมด ก็หาย ความสุขก็สิ้นไป บางทีพอนึกใหม่กลายเป็นทุกข์เพราะมันไม่มีเสียแล้ว มันขาดไป ต้องหาใหม่ แต่บุญเป็นสุขที่เข้าไปถึงเนื้อถึงตัวของจิตใจ เป็นความสุขที่เต็มอิ่ม ทำให้เกิดปิติในบุญ และเมื่อเราทำไปแล้วมันก็ไม่หมด นึกถึงเมื่อไรก็ใจเอิบอิ่มผ่องใสเรื่อยไป เป็นความสุขที่ยั่งยืนยาวนาน”

             “บุญที่แท้แผ่ความสุขออกไป ให้ความงอกงามทั้งแก่ชีวิตของเราและทั่วสังคม”

             “ทำบุญ ทำที่ไหนก็ได้ ถ้าทำเป็น ก็ได้บุญ”

             ในขณะที่ “การปฏิบัติธรรม” นั้น ท่านได้ชี้ว่าปัจจุบันมีความหมายที่จำกัดคับแคบจนเข้าใจไม่ตรง ไม่เข้าใจความจริงที่หมายถึง “การเอาธรรมมาปฏิบัติ เอาธรรมมาใช้ดำเนินชีวิตทำการทำงาน คือเอาธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริงนั่นเอง ... ถ้ายังไม่ได้ใช้ ก็ไม่เรียกว่าเป็นการปฏิบัติ”

             “การปฏิบัติธรรมก็จึงเป็นเรื่องกว้าง ๆ ไม่เฉพาะการที่จะปลีกตัวออกจากสังคม ไปอยู่ที่วัด ไปอยู่ที่ป่า แล้วก็ไปนั่งบำเพ็ญสมาธิอะไรอย่างนั้น ไม่ใช่แค่นั้น อันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เป็นการพยายามนำธรรมมาใช้ในขั้นลึก ในการที่จะฝึกฝนจิตใจอย่างจริง ๆ จังๆ”

             ถ้าจะเรียกเป็นภาษาสมัยใหม่ การปลีกตัวไปปฏิบัติแบบนั้นก็รียกว่าเป็นการปฏิบัติแบบ intensive เป็นการปฏิบัติแบบเข้มข้น หรือลงลึกเฉพาะเรื่อง ที่จริงนั้น การปฏิบัติธรรมต้องมีตลอดเวลา เรานั่งกันอยู่ในที่นี้ ก็ต้องมีการปฏิบัติธรรม คือเอาธรรมมาใช้ เมื่อปฏิบัติสิ่งนั้น ทำสิ่งนั้นอย่างถูกต้อง ก็เป็นการปฏิบัติธรรม เมื่อทำงานหรือทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง ตั้งใจทำให้ดี ให้เกิดคุณประโยชน์ ให้สำเร็จความมุ่งหมายที่ดีงาม ก็เป็นการปฏิบัติธรรม... แล้วแต่ว่าใครจะสามารถเอาธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต หรือในการทำกิจหน้าที่นั้น ๆ ให้ได้ผลแค่ไหนเพียงไร ก็เรียกว่าปฏิบัติธรรมทั้งนั้น”

             “เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงนั้น ต้องมีอยู่ตลอดเวลา เพราะเราทุกคนมีหน้าที่ต้องดำเนินชีวิตให้ดีงามถูกต้อง...ถ้าจะพูดให้ถูก ต้องบอกว่าปฏิบัติธรรมด้านนั้น ด้านนี้ การที่เราปลีกตัวไปทำกรรมฐานไปบำเพ็ญสมาธิ ก็คงจะเรียกว่าปฏิบัติธรรมด้านจิตตภาวนา...”

             ซึ่งเนื้อหาโดยตลอดนั้นท่านได้ไขข้อข้องและเข้าใจไม่แจ่มแจ้งตามลำดับ ไม่ว่าบุญกิริยาวัตถุ ๓ หรือ ๑๐ ที่มี ทาน ศีล ภาวนาเป็นหลัก อย่างเดียวกับ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือการฝึกฝนและพัฒนา กายวาจา จิตใจ และปัญญาในไตรสิกขาที่เน้นต่างกันที่ภายนอกและภายใน เหมาะแก่คฤหัสถ์หรือบรรพชิต กล่าวคือชุด ทาน ศีล ภาวนา นั้นขยายภายนอกด้านหยาบเป็น ทาน กับ ศีล แล้วเอาภายใน คือ สมาธิ กับ ปัญญา ยุบรวมกันเป็นภาวนา สำหรับคฤหัสถ์ ในขณะที่ชุด ศีล สมาธิ ปัญญา แยกภายในคือภาวนา เป็น สมาธิ แล้วรวม ทาน และ ศีล เข้าด้วยกันในศีล เช่นเดียวกับเรื่อง ปริยัติ ปฏิบัติ และ ปฏิเวธ ที่ท่านตั้งประเด็นว่า “ปฏิบัติโดยไม่มีปริยัติ จริงหรือ” พร้อมกับคำเฉลยรวมสุดท้ายว่า “ไม่ใช่ถามว่าปริยัติต้องมีหรือไม่ แต่ควรถามว่า ปริยัติจะเอาแค่ไหนและจะรับเอามาอย่างไร” จนแม้กระทั่ง “ความอยากของผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ควรมีหรือไม่ให้มีกันแน่ และมีวิธีปฏิบัติอย่างไร” จนกระทั่ง “จะวัดความสำเร็จของการปฏิบัติธรรมด้วยอะไร” “ใช้แรงขับเคลื่อน และ เครื่องช่วยอะไรได้บ้าง” ก่อนที่จะเข้าสู่ “หลักการและหลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติธรรม” และ “สมาธิแบบพุทธ” ที่ถูกทางซึ่งจะทำให้จิตมีกำลัง สุขสงบ ใสและขยายปัญญา มีแม้กระทั่ง “วิธีป้องกันและแก้โทษของสมาธิ”

             ด้วยเหตุนี้ หนังสือ “ความสุขอยู่ที่นี่ มัวไปหากันที่ไหน” ที่พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณอาจารย์กำหนดชื่อเล่มนี้ จึงถือเป็นเล่มที่ไม่ควรพลาดสำหรับผู้ใฝ่ศึกษาปฏิบัติทั้งหลาย... ด้วยหวังว่าจะเสริมสร้างความสุขที่ถูกต้องตรงตามธรรมแก่ทั้งชีวิตจนทั่วทั้งสังคมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
  • payutto กองทุนเกื้อโลก (ป. อ. ปยุตฺโต)

             ... ในสมัยปัจจุบัน เราปฏิเสธไม่ได้ที่จะหาความสุขจากการเสพและเพลิดเพลินในเทคโนโลยี ไม่แปลกใจที่เราจะเห็นคนบนรถไฟฟ้า แม้นั่งติดกันก็จะส่งข้อความถึงกันและกัน ใช้นิ้วชี้จิ้มกดโทรศัพท์ตลอดเวลา มีคนหูหนวกเพิ่มขึ้นในปริมาณใกล้เคียงกัน ด้วยการเสียบหูฟังจนแทบกลายเป็นส่วนเพิ่มของอวัยวะ (หู) นี่หรือคือความสุขที่แท้ของคนยุคปัจจุบัน มนุษย์เสพเทคโนโลยีจนกลายเป็นทาสของเทคโนโลยี

             มีเรื่องเล่าของสังคมปัจจุบันที่ฟังแล้วชวนหดหู่

             ในบ้านหลังหนึ่ง พ่อกับแม่ที่อายุมากนั่งเหงาอยู่บนโต๊ะอาหาร ขณะที่ลูกชายนักบริหารเล่นเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ภรรยาเล่นโทรศัพท์มือถือ ส่วนลูกอีกสองคนเล่นเกม มีบุพการีนั่งเหงาอยู่บนโต๊ะอาหาร นี่หรือคือความสุขของสังคมปัจจุบัน ความสุขที่แท้ต้องมาจากไหนถ้าไม่ใช่มาจากตัวเรา “ความสุขอยู่ที่นี่ มัวไปหากันที่ไหน” ความสุขไม่ใช่อยู่ที่ภายนอก ต่อให้สิ่งแวดล้อมดีและงดงามเพียงใด หากใจเราทุกข์ ก็ยังทุกข์อยู่ดี ในทางตรงกันข้าม ให้สิ่งแวดล้อมเลวร้ายเพียงใด หากใจมีโยนิโสมนสิการ ความสุขเริ่มต้นได้จากใจ ตามมงคลสูตรประการสุดท้ายที่ว่า

             ผุฏฺฐสฺสโลกธมฺเมหิจิตฺตํยสฺส น กมฺปติ อโสกํวิรัชํเขมํเอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ–เมื่อโลกธรรม กระทำแล้วไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก แกล้วกล้าเกษม นี่คือมงคลอันสูงสุด

             ความสุขอยู่ที่นี่ ไม่ต้องมัวไปแสวงหา เราสามารถหาสุขได้เมื่อเรารับรู้ความสุขจากสิ่งรอบตัว รู้จักแบ่งปันความสุขกับคนรอบข้าง ให้กำลังใจ เปลี่ยนความสุขจากการเสพสุข เป็นความสุขจากการส่งมอบ นี่คือความสุขที่ไม่ต้องลงทุน เริ่มต้นจากการเรียนรู้ความหมายของความสุข ชีวิตที่แท้ไม่มีเหตุใดให้เป็นทุกข์ ในบทสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่อง ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น บอกไว้ว่า ทุกฺขํ ปริญญายํ–ทุกข์ให้กำหนดรู้ ความสุขเราต้องเป็นความสุขให้ได้ตลอดเวลา อีกนัยหนึ่งคืออยู่เป็นก็เย็นสุข นิพพานํปรมํสุขํ–นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

             “ความสุขอยู่ที่นี่ มัวไปหากันที่ไหน” เป็นหนังสือที่ดีและคู่ควรกับยุคสมัย อยากจะเรียกร้องเยาวชนให้หันกลับมาพิจารณาตัวเอง ถามใจตัวเองและยอมรับในความเป็นธรรมชาติ เพราะมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เราพึงสำเหนียกและเคารพในธรรมชาติ และยอมรับความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ และท้ายที่สุดให้ตระหนักถึงว่า “การที่เราเห็นแก่ตัว นั้นคือความทุกข์ เมื่อไรที่เรายกเลิกเห็นแก่ตัว ความสุขก็จะปรากฏชัดขึ้นเรื่อย ๆ”
Add comment

Leave your comments

ลงชื่อเพื่อแสดงความคิดเห็น
ลงทะเบียน ลืมรหัสผ่าน

Post comment as a guest

    0
    Your comments are subjected to administrator's moderation.

    ความคิดเห็น (1)

    • Subscribe with Email

    Copyright © 2015 Life-Brary. All Rights Reserved.   |   Terms & Conditions   |   Privacy Policy

    • หน้าแรก
    • หมวดหมู่
      • พุทธประวัติ
      • พระไตรปิฎก
      • ธรรมบท
      • ธรรมโฆษณ์
      • งานอนุรักษ์ต้นฉบับ และ จดหมายเหตุ พุทธทาสภิกขุ
      • ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า เชิงปริยัติ ปฏิบัติ และ ภาวนา
      • ธรรมประยุกต์ เพื่อชีวิตและสังคม
      • อัตถชีวประวัติ ครูบาอาจารย์
      • ศาสนา และ ลัทธิอื่น ๆ
      • หนังสือศาสนา ภาษาต่างประเทศ
    • สนทนา
    • ติดต่อ
    • ลงชื่อเข้าใช้
    • ค้นหา