logo2

  • หน้าแรก
  • หมวดหมู่
    • พุทธประวัติ
    • พระไตรปิฎก
    • ธรรมบท
    • ธรรมโฆษณ์
    • งานอนุรักษ์ต้นฉบับ และ จดหมายเหตุ พุทธทาสภิกขุ
    • ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า เชิงปริยัติ ปฏิบัติ และ ภาวนา
    • ธรรมประยุกต์ เพื่อชีวิตและสังคม
    • อัตถชีวประวัติ ครูบาอาจารย์
    • ศาสนา และ ลัทธิอื่น ๆ
    • หนังสือศาสนา ภาษาต่างประเทศ
  • สนทนา
  • ติดต่อ
  • ลงชื่อเข้าใช้
    Register for an account
    I forgot my username
    I forgot my password

    Sign in with your social identity

    Sign in with Facebook

รวมบันทึกข้อคิดของพุทธทาสภิกขุ เรื่อง อนัตตา พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๔๘๗

งานอนุรักษ์ต้นฉบับ และ จดหมายเหตุ พุทธทาสภิกขุ
รวมบันทึกข้อคิดของพุทธทาสภิกขุ เรื่อง อนัตตา พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๔๘...
2 0
  • ชื่อหนังสือ
    รวมบันทึกข้อคิดของพุทธทาสภิกขุ เรื่อง อนัตตา พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๔๘๗
  • ชื่อผู้แต่ง
    พุทธทาสภิกขุ
  • ความน่าสนใจ
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    (3 votes)
  •          บันทึกเรื่องอนัตตาของพุทธทาสภิกขุเป็นบันทึกลายมือและพิมพ์ดีดในเชิงศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับอนัตตาเพื่อโต้แย้งความเห็นว่าทุกสิ่งมีตัวตน “อัตตา คือคุกตะราง ! ใครติดอยู่ในอัตตาคือคนติดตะราง... อัตตาย่อมผูกพันไว้โดยสถานะใดสถานะหนึ่ง ตามควรแก่ความยึดถือและพอใจ... อนัตตาของพระพุทธเจ้า หมายถึงไม่มีตัวตน มิใช่หมายเพียง ไม่ใช่ตัวตน เหมือนของลัทธิอื่น แม้จะมีบางสิ่งที่มิใช่ตนก็จริง แต่ก็มีสิ่งอื่นบางสิ่งที่เปนตนหรืออาตมัน ...ส่วนพระพุทธองค์ปฏิเสธทิ้งทั้งหมด คือไม่มีตัวตน แม้นิพพานซึ่งตรงกับตัวตนของเวทานตะ และอสังขตธรรมอื่นๆ ก็ตรัสว่าเปนเพียงธรรม และเปนอนัตตาด้วย พุทธสาสนาจึงไม่มีอัตตา และคำว่าอนัตตาของพุทธสาสนาจึงต้องมีความหมายกว้างออกไปถึงกับว่า ไม่มีอัตตาเลยในที่ทั้งปวง”

             “อัตตา เกิดขึ้นจากอุปาทานร่วมมือกับอวิชชา อวิชชาไม่รู้และหลง จึงมีการยึดถือ เมื่อมีความรู้สึกที่เปนการยึดถือ ก็ถือเอาตัวเองเข้าก่อน ฉะนั้นจิตต์จึงยึดถือเอาตัวเองเข้าว่าเปนตน จึงมองเห็นได้ว่าจิตต์คือตน

             เมื่อมีตนแล้ว ก็ยึดต่อไปถึงของของตน คือยึดร่างกาย ลูกเมีย ทรัพย์สินเงินทองเปนของตน นี่เปนเพราะจิตต์มีการยึด, จึงทุกข์ เพราะการยึดย่อมหนัก

             เมื่อพิจารณาเห็นสิ่งนี้ว่าไม่ควรยึดเปนของตน ก็ยึดสิ่งอื่นอีก, ตามกฎแห่งความผกผัน (Mechanism), อย่างใดอย่างหนึ่งเข้าไว้เสมอ. ฉะนั้นจึงต้องทำลายตัวผู้ยึดเสียทีเดียว การปล่อยวางจึงจะมี นั่นคือการทำลายอัตตา การทำลายอัตตา ย่อมบ่งไปยังการทำลายอุปาทาน (ความรู้สึกที่เปนการยึดหรือจับฉวยขึ้น), ...เหตุนั้น การทำลายอวิชชา จึงเปนสิ่งสำคัญ เราจึงต้องเรียนเรื่องธรรมชาติอันเกี่ยวกับอัตตา.”

             พุทธทาสภิกขุได้ยกหลักธรรมอ้างอิงในพระไตรปิฎกเปรียบเทียบมติเรื่องอัตตาในฝ่ายต่างๆ ตั้งแต่ปรัชญาเวทานตะ พุทธทาสภิกขุกล่าวถึงเวทานตะนี้หลายครั้ง นอกจากนี้ยังมี เชน คริสต์ รวมถึงวิพากษ์ทัศนะของนักคิดร่วมสมัย อาทิ ชีวันมุกติ สัตยานันท์ กฤษณมูรติ เป็นงานเขียนที่พยายามชี้แจงแง่มุมให้เห็นอนัตตาอย่างละเอียดทุกแง่มุม บางครั้งก็ยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน
  • ISBN
    9786167574219
  • สำนักพิมพ์
    หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
  • ปีที่พิมพ์
    2557
  • จัดพิมพ์โดย
    โครงการศูนย์สื่อ ศิลปะ มหรสพเพื่อสุขภาวะทางปัญญา ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
  • รูปเล่ม
    ปกอ่อน, พิมพ์สี่สี
  • น้ำหนัก
    300 กรัม
  • ขนาด
    20.5 x 14 ซม.
  • จำนวนหน้า
    174 หน้า
  • ประเภท
    หนังสือแนะนำ
  • สมทบการผลิต
    150 บาท
  • นักวิจารณ์รับเชิญ

    Reviewerสมบัติ ทารัก

             เป็นบันทึกความคิดเห็นและข้อวิจารณ์เกี่ยวกับอัตตา – อนัตตา ของพุทธทาสภิกขุ เนื้อความอ่านจบได้ในแต่ละตอน แต่ภาพรวมของเนื้อเรื่องก็มีความสอดคล้องกลมกลืนกัน แม้จะมีคำยากอยู่บ้าง เช่น คณิตชีวิน? หากเป็นเพียงส่วนน้อย ผู้อ่านจะได้เห็นแนวความคิดมติเรื่องอัตตาและข้อหักล้างของพุทธทาสภิกขุ รวมถึงคำอุปมาที่ท่านยกตัวอย่างสิ่งใกล้ตัวมาเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย ชัดเจนขึ้น

             เหมาะสำหรับผู้เริ่มสนใจพุทธศาสนา
Add comment

Leave your comments

ลงชื่อเพื่อแสดงความคิดเห็น
ลงทะเบียน ลืมรหัสผ่าน

Post comment as a guest

    0
    Your comments are subjected to administrator's moderation.

    ความคิดเห็น

    • Subscribe with Email

    หนังสือยอดนิยม

    คู่มืออุบาสก อุบาสิกา ทำวัตรเช้า-เย็น บทสวดมนต์พิเศษ และศาสน...
    พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
    เสียงธรรมพุทธทาส
    ชีวิตนี้มีค่า
    เกิดมาทำไม
    WITHOUT and WITHIN: Questions and Answers on the Teachings o...
    ศิลปะสำหรับการมีชีวิตอยู่ในโลก
    พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
    ความสุขอยู่ที่นี่ มัวไปหากันที่ไหน
    สวดมนต์แปล บทพิเศษต่าง ๆ ที่ใช้ในสวนโมกขพลาราม
    พระราชา : กำลังเพื่อความชนะอย่างสูงสุดทุกชนิด
    ลิขิตไว้ให้เห็นธรรม: ลายลิขิตพุทธทาสภิกขุ ลายพู่กันติช นัท ฮ...
    ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
    นี่คือฉัน นั่นคือโลก
    คู่มืออุบาสกอุบาสิกา ภาค ๑-๒ : ทำวัตร เช้า-เย็น และสวดมนต์พิ...

    Copyright © 2015 Life-Brary. All Rights Reserved.   |   Terms & Conditions   |   Privacy Policy

    • หน้าแรก
    • หมวดหมู่
      • พุทธประวัติ
      • พระไตรปิฎก
      • ธรรมบท
      • ธรรมโฆษณ์
      • งานอนุรักษ์ต้นฉบับ และ จดหมายเหตุ พุทธทาสภิกขุ
      • ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า เชิงปริยัติ ปฏิบัติ และ ภาวนา
      • ธรรมประยุกต์ เพื่อชีวิตและสังคม
      • อัตถชีวประวัติ ครูบาอาจารย์
      • ศาสนา และ ลัทธิอื่น ๆ
      • หนังสือศาสนา ภาษาต่างประเทศ
    • สนทนา
    • ติดต่อ
    • ลงชื่อเข้าใช้
    • ค้นหา