เป็นสมุดบันทึกสำคัญของท่านพุทธทาสที่น่าจะเขียนเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ นับว่าเป็นช่วงจังหวะสำคัญหนึ่ง เนื่องด้วยเพิ่งผ่านชาตกาล ๘๐ ปี โดยท่านพุทธทาสปรารภเสมอว่าเกินเลยกว่าฐานะอันควรของทาสของพระพุทธเจ้า ในการอยู่นานกว่าพระพุทธเจ้า
พินัยกรรมของพุทธทาส น่าจะเกิดด้วยดำรินี้ “ไม่ต้องสร้างอนุสาวรีย์อะไร ๆ ให้เรา เพราะหนังสือเล่มนี้เป็นอนุสาวรีย์อันแท้จริงและสูงสุดแล้ว มีราคาชนิดที่ท่านไม่มีเงินที่ไหนมากพอที่จะสร้างมันได้ นอกจากการช่วยกันพิจารณาดูแล้ว พากันทำตามในข้อที่ท่านเห็นว่ามันมีประโยชน์ในการดับทุกข์ ทั้งส่วนตัวและสังคม”
โดยหนังสือชุดอนุรักษ์ต้นฉบับและศึกษาเรียนรู้กระบวนการทำงานของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ได้จัดทำออกมาแล้ว ๑๘ ลำดับ ดังนี้
๑.
พุทธทาสลิขิตคำกลอน : สมุดรวบรวมคำกลอนที่ท่านพุทธทาสทำไว้ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๙ – ๒๕๒๐
๒.
พุทธทาสลิขิตข้อธรรม บันทึกนึกได้เอง ๒๔๙๕ - ๑๙๕๒ : ว่าด้วยศาสนา ชีวิต สังคม การเมือง สันติภาพ และหลักคิดสำคัญ ๆ ที่ท่านบันทึกไว้ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๕ – ๒๕๐๓
๓.
พินัยกรรมของพุทธทาส ระบบธรรมเท่าที่นึกได้ ๒ เล่มชุด : "ไม่ต้องสร้างอนุสาวรีย์อะไร ๆ ให้เรา เพราะหนังสือเล่มนี้เป็นอนุสาวรีย์อันแท้จริง และสูงสุดแล้ว"
๔.
โลกวิปริต หัวข้อล้ออายุ ๒๕๑๙ พร้อมซีดีเสียง : "แล้วเราจะอยู่ในโลกอันแสนวิปริตนี้กันอย่างไร ?"
๕.
การเมืองคืออะไร ? หนทางรอดของมนุษย์ คือ ธรรมิกสังคมนิยม ระบอบการเมืองที่ถือเอาประโยชน์ของสังคมเป็นหลักและประกอบไปด้วยธรรมะ : ไม่มีการกอบโกยเอาส่วนเกิน เป็นประชาธิปไตยที่ไม่ให้โอกาสแก่บุคคลเพียงคนเดียวสามารถกอบโกยส่วนเกิน พร้อมต้นฉบับบัตรคำประกอบคำบรรยาย "เมื่อธรรมครองโลก" "ธรรมะกับการเมือง" และพุทธทาสลิขิตข้อคิดทางการเมือง
๖.
ช่วยเขาหน่อย...อย่าเพ่อตาย...หัวใจนิพพาน ๓ เล่มชุดพร้อมซีดีเสียง : ประมวลสากลแห่งพรหมจรรย์ (เครือซีเมนต์ไทยและเครือมติชน) ชีวิตคือความสำราญบานใจในความถูกต้อง ๒ บันทึก และชุดธรรมบรรยายสุดท้าย แห่งชีวิตของพุทธทาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๓๖
๗.
ความคิดนึกชั่วขณะ : ที่ต้องรีบบันทึกไว้ก่อนจะลืมเสีย สมุดบันทึกเล่มน้อยของท่านพุทธทาส ๕ เล่ม เมื่อปี ๒๕๓๓
๘.
โชคดีมีโอกาสได้ตามรอยยุคลบาท โดยทศพิธราชธรรม พร้อมซีดีเสียง MP3 : เป็นการส่งเสริมการกลับมาแห่งศีลธรรมตามความมุ่งหมาย, เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย มีมหากษัตริย์เป็นประมุข ประมวล ๑๒ ปาฐกถาธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย พร้อมบัตรร่างคำบรรยายระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๐ – ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๐๘.๓๐ น.
๙.
เที่ยวสวนโมกข์ให้ถึงธรรม เที่ยวถึงธรรมที่สวนโมกข์ : คู่มือทัศนศึกษาอย่างลึกซึ้งถึงธรรมที่สวนโมกข์
๑๐.
พุทธทาสปสังสนา ถ้าไม่ยึดติดอะไรในสิ่งที่รู้ ก็จะอยู่ สงบพบเยือกเย็น : บทกลอนบูชาผ่านงานท่านพุทธทาสที่สวนโมกข์ – พุทธธมฺโมภิกขุ
๑๑.
พระราชา กำลังเพื่อความชนะอย่างสูงสุดทุกชนิด : ๕ บทธรรมบรรยายอันเนื่องกับ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ที่กำลังปฏิรูป และเพื่อการ “เฉลิมพระชนมพรรษากันอย่างสุดความสามารถ”
๑๒.
บทพระธรรมประจำภาพ เล่ม ๑ คำนำและสีลธรรม : รวมบทธรรมประกอบภาพถ่ายที่ท่านอาจารย์เตรียมค้างไว้ในหมวดคำนำและสีลธรรม
๑๓.
บทพระธรรมประจำภาพ เล่ม ๒ ปรมัตธรรม : รวมบทธรรมประกอบภาพถ่ายที่ท่านอาจารย์เตรียมค้างไว้ในหมวดปรมัตธรรม
๑๔.
บทพระธรรมประจำภาพ เล่ม ๓ ภาพสี อื่น ๆ ซ้ำ ๆ เกินชุด และบทวิเคราะห์ : รวมบทธรรมประกอบภาพถ่ายที่ท่านอาจารย์เตรียมค้างไว้พร้อมบทวิเคราะห์กระบวนการทำงานของท่านพุทธทาส
๑๕.
บันทึกไปอินเดีย ของพุทธทาส : ๒ สมุดบันทึกรายวันที่อินเดีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘
๑๖.
ต่อไปนี้ เราจะทำจริง แน่วแน่จริงทุก ๆ อย่าง แม้ที่สุดแต่การเขียนบันทึกประจำวัน : เราผ่านมา ๓ รอบปี เต็ม ๆ บริบูรณ์แล้ว เวลาสำหรับเป็นเด็ก – สำหรับศึกษาเบื้องต้น – สำหรับทดลองนั้น เราอยากจะให้สิ้นสุดเสียที เป็นบันทึกรายวันสมบูรณ์เล่มแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ครั้งอยู่สวนโมกข์เก่า กำลังสร้างสโมสรคณะธรรมทาน และเริ่มหาที่สร้างสวนโมกข์ใหม่
๑๗.
๑๐๐ ปี ร้อยจดหมาย พุทธทาส – สัญญา : จดหมายสนทนาศึกษาธรรม ระหว่างอาจารย์พุทธทาสกับอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เนื่องในโอกาส พุทธทาส ๑๐๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๔๙) และ สัญญา ธรรมศักดิ์ ๑๐๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๐)
๑๘.
ควรจะได้รับอะไรจากการมาสวนโมกข์ : พุทธทาสชี้แนะถึงการไปสวนโมกข์ให้สมประโยชน์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑